พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367)
มีพระนามเดิมว่า ฉิม
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ
1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา
พระราชกรณียกิจที่สําคัญ
พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ.2346
พระราชกรณียกิจสำคัญในรัชกาลที่ ๒
ด้านการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านการปกครองโดยยังคงรูปแบบการปกครองแบบเดิม แต่มีการตั้งเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้าดูแลบริหารงานราชการตามหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมพระคลัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นผู้กำกับดูแล เป็นต้น ส่วนด้านการออกและปรับปรุงกฎหมายในการปกครองประเทศที่เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น ได้แก่ พระราชกำหนดสักเลก โดยพระองค์โปรดให้ดำเนินการสักเลกหมู่ใหม่ เปลี่ยนเป็นปีละ 3 เดือน ทำให้ไพร่สามารถประกอบอาชีพได้ นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายว่าด้วยสัญญาที่ดินรวมถึงพินัยกรรมว่าต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่สำคัญที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดขึ้น คือ กฎหมายห้ามซื้อขายสูบฝิ่น
ด้านเศรษฐกิจ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือการรวบรวมรายได้จาการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งในสมัยนี้ได้มีการเรียกเก็บภาษีอากรแบบใหม่คือ การเดินสวนและการเดินนา การเดินสวนเป็นการแต่งตั้งเจ้าพนักงานไปสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร เพื่อคิดอัตราเสียภาษีอากรที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความยุติธรรมแก่เจ้าของสวน ส่วนการเดินนาคล้ายกับการเดินสวน แต่ให้เก็บหางข้าวแทนแทนการเก็บภาษีอากร
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศทั้งประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ญวน เขมร มลายู จีน และประเทศในทวีปยุโป เช่น โปรตุเกส อังกฤษ โดยมีความสัมพัน์ในทางการเมืองและการค้า
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนามาก ในรัชสมัยของพระองค์มีการส่งคณะสงฆ์ไปยังศรีลังกา และพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ได้แก่ วัดแจ้ง และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดประจำรัชกาล และโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดอีก คือ วัดท้ายตลาด และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดพุทไธสวรรค์ รวมทั้งทรงจำหลักบานประตูพระวิหารศรีศาสกยมุนีที่วัดสุทัศน์ฯ อีกทั้งยังทรงปฏิสังขรณ์วัดหงส์รัตนาราม วัดหนัง วัดบวรมงคล วัดราชาธิวาส วัดราชบูรณะ และวัดโมลีโลกยาราม นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระพุทธธรณิศราชโลกนาถดิลก พระประธานในวัดอรุณฯ และทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระปฏิมา พระประธานในวัดราชสิทธาราม นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขปรับปรุงการสอนพระปริยัติธรรม และโปรดเกล้าฯ ให้มีการแปลบทสวดมนต์จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย รวมถึงซ่อมแซมพระไตรปิฎกฉบับที่ขาดหายไป
นอกจากนี้แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้มีการรื้อฟื้นพระราชต่างๆ ได้แก่ พระราชพิธีวิสาขบูชา ที่เคยทำในสมัยสุโขทัยให้กลับมามีความสำคัญอีก พระราชพิธีลงสรงและพระราชพิธีอาพาธพินาศ เมื่อเกิดอหิวาตกโลกระบาด
ด้านศิลปกรรมวรรณคดี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสนพระทัยและทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติทุกแขนง ได้แก่
ด้านการช่าง งานปั้นพระประธาน งานแกะสลับานประตู การสร้างสวนขวาในพระบรมมหาราชวัง
ด้านการละคร ทรงฟื้นฟูการละคร โดยทรงให้มีการซ้อมท่ารำแบบแผนประกอบการแต่งบทพระราชนิพนธ์ การละครมีมาตรฐานในการรำ เพลง และบท เป็นแบบอย่างของละครสืบมา
ด้านดนตรี ทรงมีความชำนาญในเครื่อดนตรี คือ ซอสามสาย และได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลง บุหลันลอยเลื่อน หรือบุหลันลอยฟ้า ซึ่งเป็นเพลงที่มีความไพเราะมาก นอกจากนี้ทรงริเริ่มให้มีการขับเสภาประกอบปี่พาทย์
ด้านวรรณคดี ทรงเป็นกวีที่มีพระปรีชาสามารถและทรงสนับสนุนกวี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง นับว่าสมัยของพระองค์นี้เป็นยุคทองแห่งวรรณคดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น