วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รัชกาลที่ 4



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2347 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2393 - พ.ศ. 2411)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา 
             พระราชประวัติ
             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับปีชวด มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา ขณะนั้นพระราชบิดายังดัารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาอักขะสมัยกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อพระชนมายุได้ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุธามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
             เมื่อพระชนมายุได้ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็โปรดให้มีการพระราชพิธีลงสรง ( พ.ศ. 2355 ) เป็นครั้งแรกที่กระทําขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานนามจารึกในพระสุพรรณปัฎว่า " สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์พงศ์อิสรค์กษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร " สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 4เมษายน พุทธศักราช 2394 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เรียกขานในหมู่ชาวต่างชาติว่า "คิงส์มงกุฎ" ขณะที่พระองค์ขึ้นเสวย สิริราชย์สมบัตินั้น พระชนมายุ 37 พรรษา
             เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ( พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณีโอรสองค์ที่ 50 ของรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ขึ้นเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีฐานะเสมือนพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง
     การทํานุบํารุงบ้านเมือง
             การปกครอง ในรัชกาลนี้ ได้มีการปฎิรูปการปกครองเฉพาะในด้านประเพณีที่มีมาแต่เดิมๆ อย่างเช่น ปรับปรุงประเพณีการเข้าเฝ้า มีพระบรมราชโองการให้ทุกคนสวมเสื้อเข้าเฝ้า โปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และถวายฎีการ้องทุกข์ทุกวันโกนเดือนละ 4 ครั้ง โดยพระองค์ท่านจะเสด็จออกมารับการร้องทุกข์นั้น
             กฎหมาย มีกฎหมายที่ออกในรัชกาลนี้มาก มีทั้งกฎหมายอาญาหลวง และมีประกาศเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน
             ศาล ยังมิได้มีการรวบรวมเป็นกระทรวงเดียวกัน แต่โปรดให้ตั้งศาลต่างประเทศระหว่างคนไทยกับต่างประเทศ และให้เกิดมีศาลกงศุลขึ้นเป็นครั้งแรก
             ทหาร โปรดให้มีการฝึกหัดทหารแบบยุโรป โดยจ้าง "ร้อยเอกอิมเปย์" นายทหารนอกราชการของกองทัพบกอังกฤษ ประจําประเทศอินเดียมาเป็นครูฝึก พ.ศ. 2394 ได้จัดกองทหารประจําพระองค์ออกเป็น 2 กอง คือ "กองทหารรักษาพระองค์" ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม และ "กองทหารหน้า"
             ทหารเรือ มีการสร้างเรือชนิดที่ใช้เครื่องจักรกลขึ้น และทรงตั้งกรมเรือกลไฟ
             ตํารวจ มีตํารวจพระนครบาลขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 การตัดถนนและขุดคลอง โปรดให้สร้างถนนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 ถนนเจริญกรุงเป็นสายแรก
             การขุดคลอง มีการขุดคลอง เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ และคลองดําเนินสะดวก
             ศาสนา พระราชกรณียกิจที่สําคัญในการทํานุบํารุงพุทธศาสนา คือ ทรงให้กําเนิดธรรมยุติกนิกาย มีการสร้างพระอารามหลวง มี 5 พระอารามได้แก่ วัดบรมนิวาส วัดโสมนัสวิหาร วัดประทุมวนาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม วัดมกุฎกษัตริยาราม

             วรรณคดี และกวี
พระราชนิพนธ์ที่สําคัญ
1. ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
2. บทระบํา
3. บทละครเรื่องรามเกียรติ์
4. บทเบิกโรงละครหลวง
5. โคลงพระราชทานพร
6. จารึกวัดราชประดิษฐ์
7. ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย หมวดภาษา และวรรณคดี
กวีในรัชสมัย เช่น พระยาอิศรานุภาพ หม่อมราโชทัย คุณสุวรรณ

             ศิลปกรรม
 สถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่เป็นแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสราญรมย์
จิตรกรรม มีปรากฎอยู่ในพระอุโบสถ และพระวิหารวัดบวรนิเวศน์
ปฎิมากรรม มีการหล่อพระพุทธรูป
           การศึกษา โปรดจ้างแหม่มเลียวโนเวนส์ มาจากสิงคโปร์ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง และพระราชโอรสพระราชธิดา ด้วยทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อไปภายหน้า

             การติดต่อกับต่างประเทศ
             ในรัชกาลนี้ มีการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มีการทําสนธิสัญญากับนานาประเทศ เริ่มด้วยรัฐบาลอังกฤษได้ส่ง เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เจ้าเมืองฮ่องกงในขณะนั้นเป็นอัครราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องบรรณาการเข้ามาขอเจรจาทําสนธิสัญญาทางไมตรีมาทางเรือรบ สนธิสัญญาที่ทําขึ้นมีผลที่สําคัญบังเกิดขึ้นคือ ก่อให้เกิดสิทธิภาพนอกอาณาเขต และอนุญาตให้คนในบังคับอังกฤษสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทย
             การทูตของไทย พ.ศ. 2400 พระองค์ทรงโปรดให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม ) เป็นอัครราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ณ ประเทศอังกฤษ
             ไทยเสียเขมร ต่อเนื่องมาจากฝรั่งเศสครองญวนได้แล้ว จึงมาบังคับเขมรโดยอ้างว่าเขมรเคยเป็นเมืองขึ้นของญวนมาก่อน สมเด็จพระนโรดมกษัตริย์ของเขมร ขณะนั้น ยินยอมทําสัญญาลับยอมอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2406 และได้ส่งหนังสือมากราบบังคมทูลว่า ที่ยอมฝั่งเศสนั้นเพราะถูกบังคับ และต่อมา วันที่ 15 กรกฎาคม 2410 ไทยได้ลงนามในสนธิสัญญายกกัมพูชาให้ฝรั่งเศส
ศึกเมืองเชียงตุงการตีเมืองเชียงตุงนี้ ค้างมาตั้งแต่ปลายรัชกาล ที่ 3 แต่ตีไม่สําเร็จ
             เสด็จสวรรคต
            พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตําบลหว้ากอจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามที่พระองค์ทรงทํานายเอาไว้ว่า จะเกิดในวันขึ้น 1 คํ่า เดือน 10 พ.ศ. 2411 หลังจากที่กลับมาแล้วก็ทรงประชวรหนัก และได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2411 พระชนมายุได้ 65 พรรษา เสวยราชสมบัติได้ 17 ปี มีพระราชโอรส และพระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 82 พระองค์

รัชกาลที่ 3



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รัชกาลที่ 3

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2330 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ 
             พระราชประวัติ
             พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"
             พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"
             ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ โดยตรง ส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น คํ่า เดือน ปีวอกฉศก
   การทํานุบํารุงบ้านเมือง
การปกครอง เป็นตามแบบเดิมที่เคยมีมา ในรัชกาลที่ 2
รายได้ของประเทศ มีการปรับปรุงภาษีอากรใหม่ ยกเลิกภาษีฝิ่นอากรค่านํ้า และอากรรักษาเกาะ ส่วนการค้าขาย ส่วนใหญ่จะค้าขายกับจีน
ศาสนา เป็นยุคของการฟื้นฟูบูรณะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีการปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การศึกษาพระปริยัติธรรม การตั้งธรรมยุติกนิกาย และมีการเผยแพร่ศาสนาอื่นเข้ามาในไทยอีก

วัดที่ทรงสร้างและปฎิสังขรณ์ที่สําคัญมี วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดราชนัดดา วัดเทพธิดาราม วัดอรุณ วัดกลางเมือง วัดนางนอง วัดพระพุทธบาท วัดมหาธาตุ วัดโมลีโลกยาราม วัดยานนาวา

             วรรรคดีและกวี วงการกวีและวรรรคดีจะเฟื่องฟูในยุคต้นๆเท่านั้นบทพระราชนิพนธ์ คือ
1. เสพาขุนช้างขุนแผน
2. บทละครเรื่องสังข์ศิลปไชย
3. เพลงยาวรัชกาลที่ 3
4. โคลงปราบดาภิเษก
กวีที่สําคัญอีกท่านหนึ่งคือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตโนรส มีพระนิพนธ์ที่สําคัญคือ ลิลิตตะเลงพ่าย พระปฐมสมโพธิกถา สรรพสิทธิ์คําฉันท์ กฤษณาสอนน้องคําฉันท์
ศิลปกรรม ทางด้านสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมของต่างประเทศ เช่น ศิลปการช่างของจีน ปฎิมากรรมที่สําคัญได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปประจํารัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2
สร้างเมือง และป้อม สร้างเมืองใหม่ขึ้น คือ ได้แก่ พนัสนิคม ( เมืองพระรถ ) กบินทร์บุรี ประจันตคาม คําเขื่อนแก้ว ภูเวียง
ขุนคลองบองบาก คลองบางขุนเทียน เพื่อสะดวกแก่การคมนาคม และการเกษตร
ป้อมที่สร้างเพิ่มเติม สร้างป้อมที่เมืองสมุทรปราการ เมืองจันทบุรี เมืองสมุทรสงคราม เพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึก
             การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
              ติดต่อกับพม่า ในรัชกาลที่ 3 นี้ อังกฤษติดต่อกับไทยเพื่อขอความช่วยเหลือ ในการยกทัพไปพม่า รัชกาลที่ 3 โปรดให้พระยารัตนจักร คุมกองมอญไปล่วงหน้า และโปรดให้เจ้าพระยามหาโยธา ( ทอเรีย ) คุมกองทัพมอญออกไปทางด่านพระเจดีย์ 3 องค์ พระยาชุมพรคุมกองเรือชุมพรไชยา ยกไปทางเรือเพื่อตีเมืองมะริด และเมืองทวาย พระยามหาอํามาตย์กับพระยาวิชิตณรงค์ขึ้นไปเกณฑ์หัวเมืองฝ่ายเหนือ ยกทัพออกทางด่านแม่ละเมา
             การติดต่อกับญวน ในรัชกาลที่ 3 ญวนสนับสนุนให้เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฎต่อไทย เท่ากับแสดงตนเป็นอริกับไทย ไทยจึงคิดปราบปรามญวนให้หายกําเริบเสียบ้าง จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์ ) เป็นแม่ทัพบก ยกไปไล่ญวนในประเทศเขมร จนจดไซ่ง่อน และให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพเรือ ตีหัวเมืองเขมรและญวนแถบชายทะเล ทําสงครามอยู่นานในที่สุดได้เลิกสงครามกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้นักองค์อิน เป็นเจ้าเมืองพระตะบอง และให้นักองค์ด้วงไปครองเมืองมงคลบุรี
           

รัชกาลที่ 2



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รัชกาลที่ 2

พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367)
มีพระนามเดิมว่า ฉิม

              พระราชประวัติ
              พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น คํ่า เดือน ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ 
1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา 
             พระราชกรณียกิจที่สําคัญ 
พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน ขึ้น คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ.2346
พระราชกรณียกิจสำคัญในรัชกาลที่ ๒
                        ด้านการปกครอง
                        พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านการปกครองโดยยังคงรูปแบบการปกครองแบบเดิม  แต่มีการตั้งเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้าดูแลบริหารงานราชการตามหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมพระคลัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นผู้กำกับดูแล เป็นต้น ส่วนด้านการออกและปรับปรุงกฎหมายในการปกครองประเทศที่เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น ได้แก่ พระราชกำหนดสักเลก โดยพระองค์โปรดให้ดำเนินการสักเลกหมู่ใหม่ เปลี่ยนเป็นปีละ 3 เดือน ทำให้ไพร่สามารถประกอบอาชีพได้ นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายว่าด้วยสัญญาที่ดินรวมถึงพินัยกรรมว่าต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่สำคัญที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดขึ้น คือ กฎหมายห้ามซื้อขายสูบฝิ่น
                        ด้านเศรษฐกิจ
                     พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือการรวบรวมรายได้จาการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งในสมัยนี้ได้มีการเรียกเก็บภาษีอากรแบบใหม่คือ การเดินสวนและการเดินนา การเดินสวนเป็นการแต่งตั้งเจ้าพนักงานไปสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร เพื่อคิดอัตราเสียภาษีอากรที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความยุติธรรมแก่เจ้าของสวน  ส่วนการเดินนาคล้ายกับการเดินสวน แต่ให้เก็บหางข้าวแทนแทนการเก็บภาษีอากร
                        ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
                        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศทั้งประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ญวน เขมร มลายู จีน และประเทศในทวีปยุโป เช่น โปรตุเกส อังกฤษ โดยมีความสัมพัน์ในทางการเมืองและการค้า
                        ด้านสังคมและวัฒนธรรม
                        พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนามาก ในรัชสมัยของพระองค์มีการส่งคณะสงฆ์ไปยังศรีลังกา  และพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ได้แก่ วัดแจ้ง และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดประจำรัชกาล และโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดอีก คือ วัดท้ายตลาด และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดพุทไธสวรรค์  รวมทั้งทรงจำหลักบานประตูพระวิหารศรีศาสกยมุนีที่วัดสุทัศน์ฯ อีกทั้งยังทรงปฏิสังขรณ์วัดหงส์รัตนาราม วัดหนัง วัดบวรมงคล วัดราชาธิวาส วัดราชบูรณะ และวัดโมลีโลกยาราม  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระพุทธธรณิศราชโลกนาถดิลก พระประธานในวัดอรุณฯ และทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระปฏิมา พระประธานในวัดราชสิทธาราม  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขปรับปรุงการสอนพระปริยัติธรรม  และโปรดเกล้าฯ ให้มีการแปลบทสวดมนต์จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย รวมถึงซ่อมแซมพระไตรปิฎกฉบับที่ขาดหายไป
                        นอกจากนี้แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้มีการรื้อฟื้นพระราชต่างๆ ได้แก่ พระราชพิธีวิสาขบูชา ที่เคยทำในสมัยสุโขทัยให้กลับมามีความสำคัญอีก พระราชพิธีลงสรงและพระราชพิธีอาพาธพินาศ เมื่อเกิดอหิวาตกโลกระบาด
                        ด้านศิลปกรรมวรรณคดี
                        พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสนพระทัยและทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติทุกแขนง ได้แก่
 ด้านการช่าง  งานปั้นพระประธาน งานแกะสลับานประตู การสร้างสวนขวาในพระบรมมหาราชวัง
ด้านการละคร ทรงฟื้นฟูการละคร โดยทรงให้มีการซ้อมท่ารำแบบแผนประกอบการแต่งบทพระราชนิพนธ์  การละครมีมาตรฐานในการรำ เพลง และบท เป็นแบบอย่างของละครสืบมา 
ด้านดนตรี ทรงมีความชำนาญในเครื่อดนตรี คือ ซอสามสาย และได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลง บุหลันลอยเลื่อน หรือบุหลันลอยฟ้า  ซึ่งเป็นเพลงที่มีความไพเราะมาก  นอกจากนี้ทรงริเริ่มให้มีการขับเสภาประกอบปี่พาทย์
ด้านวรรณคดี ทรงเป็นกวีที่มีพระปรีชาสามารถและทรงสนับสนุนกวี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง นับว่าสมัยของพระองค์นี้เป็นยุคทองแห่งวรรณคดี

รัชกาลที่ 1


รัชกาลที่  1

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รัชกาลที่ 1

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)
มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง  
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามเต็มว่า
พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์
 ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตน
 ชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิ
 บดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพา
 ดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร
 บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "

               ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทร
 ศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด คน คือ
               คนที่ เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )

               คนที่ เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )

               คนที่ เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )

               คนที่ เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )

               คนที่ เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
               เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 25 พรรษา ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค ธิดาของท่านเศรษฐี
ทองกับส้ม
              พระชนมายุ 32 พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อน
ตําแหน่งดังนี้
              พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้า
กรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
              พระชนมายุ 34 พรรษา พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายก
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
              พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็น
แม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2
              พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
เมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
              พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจล
จึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปราม
เสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มี
พระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบาง
ยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มี
การมหรสพ

พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี 
            พระราชกรณียกิจประการแรกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงจัดทำเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ คือการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แทนกรุงธนบุรี ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เนื่องจากกรุงธนบุรีตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำ ทำให้การลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์ และการรักษาพระนครเป็นไปได้ยาก อีกทั้งพระราชวังเดิมมีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถขยายได้ เนื่องจากติดวัดอรุณราชวราราม และวัดโมฬีโลกยาราม ส่วนทางฝั่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นมีความเหมาะสมกว่าตรงที่มีพื้นแผ่นดินเป็นลักษณะหัวแหลม มีแม่น้ำเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีชัยภูมิเหมาะสม และสามารถรับศึกได้เป็นอย่างดี 
            การสร้างราชธานีใหม่นั้นใช้เวลาทั้งสิ้น ๓ ปี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล จศ.๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พศ.๒๓๒๕ และโปรดเกล้าฯให้สร้าง พระบรมมหาราชวัง สืบทอดราชประเพณี และสร้างพระอารามหลวงในเขตพระบรมมหาราชวังตามแบบกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการสร้างเมืองและพระบรมมหาราชวังเป็นการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรม และศิลปะกรรมดั้งเดิมของชาติ ซึ่งปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้พระราชทานนามแก่ราชธานีใหม่นี้ว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรา ยุทธยา มหาดิลก ภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต  สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์  นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯให้ สร้างสิ่งต่างๆ อันสำคัญต่อการสถาปนาราชธานีได้แก่ ป้อมปราการ, คลอง ถนนและสะพานต่างๆ มากมาย